วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)

ระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญ ต่อผู้บริหารองค์กรในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผน กลยุทธ ขององค์กรให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่น ๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MISและ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูล (ถ้าจำเป็น) ภายนอก เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้นมิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน การเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสารจึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ หลายๆ องค์กรไม่ต้องการประสบปัญหาขั้นต้น การจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ เพื่อกำหนดกรอบของระบบงานสารสนเทศหลัก ระบบย่อย และความต้องการข้อมูล ของแต่ละประเภทของระบบข่าวสาร (TPS, MIS, DSS, EIS) ไว้อย่างครบถ้วน ในขั้นต้นนั้นกำหนดความจำเป็นเร่งด่วน จะช่วยในการพิจารณาคัดเลือกระบบงานที่จะพัฒนาก่อนหลังต่อไปได้อย่างมีระบบ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
ความหมาย ระบบข่าวสารคอมพิวเตอร์ที่จัดทำ และบริการข่าวสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เป็น สารสนเทศในการบริหารชั้นสูง โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลาถูกต้อง โดยที่สารสนเทศ เหล่านี้จะเป็นสารสนเทศที่ล้วนเป็นข่าวสารที่มีผลกระทบเกี่ยวข้อง โดยตรงต่อการบริหารและตัดสินใจให้สำเร็จ และถูกต้อง ตรงทิศทางมากที่สุด
อนึ่งนอกจากข่าวสารที่เป็นปัจจัยสำคัญๆ ในการช่วยพิจารณาตัดสินใจแล้ว ระบบ EIS ยังจะมีคุณสมบัติหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น
- พ่วงต่อระบบชำนาญการพิเศษ (Expert System) เพื่อช่วยวิเคราะห์ตีความ เปรียบเทียบอดีต ทำนายอนาคตของข่าวสารขององค์กร
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือ การจัดการสำนักงานอัตโนมัติ ให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนส่งข้อมูลระหว่างบุคคลต่างๆ ได้ การสืบค้น สรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง
- อื่นๆ เช่น ปฏิทิน เครื่องคำนวณ การประชุมทางไกลฯลฯ

ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับสูง คือ บุคคลที่บริหารจัดการองค์กร ทั้งองค์กร หรือบางครั้งอาจเป็นแผนก/หน่วยงานอิสระ (เช่นโรงงานผลิต) ภาระความรับผิดชอบกว้างขวางโดยมากไม่เฉพาะที่งานใดงาน หนึ่ง ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การรักษาความอยู่รอดขององค์กร ฯลฯ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ เป็นคนสุดท้าย เช่น ด้านงบประมาณ ด้าน บุคคลากร และแผนงาน
ธุรกิจต่างๆ นอกจากนั้น ผู้ บริหารระดับสูงยังเป็นผู้ที่ต้องติดต่อ เจรจา ทำความตกลง ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ผู้บริหารจึงมีภารกิจความรับผิดชอบสูงที่สุดในองค์กร

ภารกิจหน้าที่ของผู้บริหาร1. ภารกิจด้านการบริหาร - จัดตั้งบำรุงรักษาองค์กร - จัดการด้านแหล่งเงินทุน บุคลากร-กำลังผลิตและผลผลิต (สินค้า) - จัดการวางตัวสรรหา ยกเลิก/ และวางแผนความต้องการ กำลังคน/เครื่องจักร - ดูแลงานการวางแผน ควบคุม งบประมาณ ค่าใช้จ่ายและการติดต่อสื่อสารขององค์กร - กำหนดมาตรฐานงาน การแก้ไขปัญหาภายในองค์กร - กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม แผนงาน - จัดสร้างเครือข่ายบุคคล เพื่อปฏิบัติงานและบริหารงาน2. ภารกิจด้านบทบาท - ติดต่อเจรจากับธุรกิจ/องค์กรภายนอก - ติดตามควบคุมสั่งการแก้ไขนโยบายแผนงานตามความจำเป็น/เหมาะสม - เป็นผู้นำขององค์กรที่ต้องมีวิสัยทัศน์รอบรู้ เข้าใจปัญหาต่างๆ และรู้แนวทางแก้ไข3. การตัดสินใจ - ทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจ ชี้ขาดหาข้อยุติในกิจกรรม หรือประเด็นต่างๆ ขององค์กร
บริหารึ้น สารสนเทศสำหรับผู้บริหาร มีลักษณะดังนี้
• ไม่มีโครงสร้าง (Lack of Structure)
• มีความไม่แน่นอนสูง (High Degree of Uncertainty)
• ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในอนาคต (Future Oriented Situation)
• แหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sources)
• ไม่แสดงรายละเอียด (Low Level of Details)
แหล่งข้อมูลของผู้บริหาร
1. ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน (Transaction Processing Data)
2. ข้อมูลจากภายในองค์กร (Internal Data)
3. ข้อมูลจากภายนอกองค์กร (External Data)
คุณสมบัติของ EIS
• สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
• เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
• มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
• ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน
• พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
ที่มา:http://www.siamhrm.com/?name=chapter&file=read&max=227

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น